1. คนไทยเป็นคนสบาย ๆ แต่ก็ไม่ควรสบายในเรื่องการนัดหมาย
ไม่ว่าจะนัดหมายให้มาถึงที่ทำงาน, นัดหมายส่งงาน หรือนัดพบตามธรรมดาก็
ตาม ม า ร ย า ท ที่พึงมีคือ การมาก่อนเวลาหรือมาตรงเวลา แบบ “นัดสากล”
อย่าเลทแล้ว พ ย า ย า ม หาข้อแก้ตัว ทำตัวสบาย ๆ แบบ “นัดไทย” ถึงแม้
คุณและอีกฝ่ายจะยิ้มต่อกัน ก็ไม่ช่วยให้ความรู้สึกและความน่าเชื่อถือดีขึ้นมา
2. นินทาเพื่อนร่วมงาน เก่งแต่ วิ พ า ก ษ์ วิ จ า ร ณ์ อย่างลับ ๆ
คันปากแค่ไหน อยากเม้าท์เพียงใด ขอให้มันเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือสถานที่
และเวลาในการทำงาน การจับกลุ่มนินทานอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
ต่อหน้าที่การงาน ยังเป็นการสร้าง ศั ต รู โดยไม่จำเป็นอีกด้วย ถึงแม้คน ๆ นั้น
จะต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ไม่สามารถเดาได้ว่ากำลังพูดอะไรอยู่ แต่อย่าลืมว่า
สีหน้าและท่าทาง เป็นภาษาสากลที่ฟ้องได้ชัดเจนในทางกลับกัน ถ้าแน่ใจว่า
ไอเดียของตัวเองดีกว่าจริง ก็อย่าเจ๋งในที่ลับด้วยการแอบ วิ พ า ก ษ์ วิ จ า ร ณ์
อยู่ข้างหลัง เสนอความเห็นกันตรง ๆ ซึ่งหน้าไปเลย ให้ พ ย า น คนอื่นช่วยตัดสิน
ให้รู้ดำรู้แดงไปเลยว่าใครเจ๋งจริง ใครแค่โม้
3. หวงสูตร หวงความรู้
ย้ำอีกทีว่าการทำงานต้องอาศัย teamwork นั่นก็แปลว่า แม้จะถูกมอบหมาย
ให้เป็นหัวหน้างาน ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องทำทุกอย่างเองด้วยตัวคุณ
เพียงคนเดียว ใครที่ด้อยกว่าเราก็ฉุดให้เขาไปด้วยกัน จับมือกันทำงานด้วย
บางทีความคิดเราเพียงคนเดียวก็ใช่ว่าจะวิเศษที่สุดเสมอไปก็ได้
4. ขี้เกรงใจ ขี้อาย สงบเสงี่ยมเจียมตัว พอใจในสิ่งที่มีอยู่
ถึงแม้การทำตัวเรียบร้อยจะทำให้เราดูน่ารักและความพอใจในสิ่งที่มีอยู่
จะเป็นเรื่องดีต่อชีวิต แต่อย่าลืมว่าในการทำงานที่อาศัย teamwork ก็
ต้องการผู้กล้าหลายคนเพื่อผลักดันงานให้ก้าวหน้า เก็บนิสัยรัก comfort zone
นี้ไว้ในเรื่องส่วนตัวเถอะ เรื่องงานยังต้องการความ ท ะ เ ย อ ะ ท ะ ย า น
ต้องการความสามารถมา แ ช ร์ กันอีกเยอะ
5. นอบน้อม ตกปากรับคำอย่างดี แต่ไม่ตั้งข้อสงสัยก่อนทำหรือทำไม่ได้
วัฒนธรรมการนอบน้อมต่อผู้ที่สูงกว่าด้วยวัยวุฒิหรือคุณวุฒิก็ตามเป็นสิ่งที่ดี
แต่ไม่ควรลามมาถึงระบบการทำงาน อย่าเอาหน้าไว้ก่อนแล้วต้องมาบ่นอุบทีหลัง
จงซื่อสัตย์กับตัวเองและคนอื่น มีข้อสงสัยอะไร หรือขัดข้องตรงไหน ให้รีบถาม
โดยทันที เพราะการทำงานต้องอาศัย teamwork ทุกคนล้วนแต่มีสิทธิมีเสียงเท่ากัน
6. อยากรู้อยากเห็นเรื่องคนอื่น สักนิดนึงก็ยังดี
เวลางานก็คือเวลางาน สิ่งที่ควรโฟกัสก็คือจะทำอย่างไรให้งานเสร็จไว
ตรงเป้าหมาย ได้คุณภาพ อะไรที่เป็นเรื่องส่วนตัวค่อยไว้หลังเลิกงานก็ได้
อย่าสร้างนิสัยเสียด้วยการแอบเปิดโซเชียลเช็คข่าวสักนิดนึงก็ยังดี
ถึงจะอัพเดทมากขึ้นมันก็เท่านั้น ไม่ช่วยให้ชีวิตก้าวหน้าขึ้นแต่อย่างใด
7. โชคลาง ความเชื่อสูงกว่าตรรกะความเป็นจริง
ความเชื่อส่วนบุคคลถึงแม้จะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เสียหาย ไม่ทำคนอื่นเดือดร้อน
แต่การเชื่ออะไรมากไปก็ส่งผลต่อการทำงานได้ เพราะจิตเราดันไปเชื่อมั่นกับสิ่ง
ที่มองไม่เห็น แทนที่จะโฟกัสที่สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันตามความเป็นจริง ไม่มีใครว่า
คุณหรอกถ้าคุณจะนับถือองค์เทพอะไร เชื่อในดวงแค่ไหน แต่ขอให้อยู่ในกรอบ
ของความพอดีก็แล้วกัน
8. ก่อดราม่า เรียกคะแนนความเห็นใจ
ความ ส ง ส า ร เห็นใจเป็นนิสัยหนึ่งที่มนุษย์คนไหนก็มีเป็นธรรมดาเมื่อต้องเจอ
เรื่องที่สะเทือนใจสุด ๆ แต่ในการทำงานที่ต้องอาศัยความเด็ดขาด ตรงไปตรงมา
น้ำตาไม่สามารถช่วยอะไรให้ดีขึ้นได้ ต่อให้คุณรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมจริง ๆ ก็
ต้องมีวิธีพิสูจน์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับกติกาของการทำงานมากที่สุดในทางกลับกัน
หากมีใครมาขอความเห็นใจในการทำงานก็อย่าเพิ่งใจอ่อนเด็ดขาด กฎต้องเป็นกฎ
ถ้าไม่รักษาอย่างเคร่งครัดก็เตรียมรับผิดชอบความเสียหายที่จะตามมาในภายหลัง
ให้ได้ละกัน
9. พ ย า ย า ม หาช่องทางซิกแซก
ทางลัดเป็นสิ่งที่ใครหลายคนชอบเพราะมันไม่ต้องเหนื่อยมาก ทางลัดที่เป็นวิธี
ที่ไม่เอาเปรียบใคร ไม่เบียดเบียนใครยังพอจะเรียกว่าเทคนิคได้ ยกเว้นการ พ ย า ย า ม
หาช่องทางซิกแซ็ก เช่น การหาช่องโหว่ทาง ก ฎ ห ม า ย, หั ว ห ม อ ในกฎของบริษัท
โดยลืมนึกถึงผลกระทบ แบบนี้เขาเรียกกว่า “เห็นแก่ตัว”เพื่อเซฟตัวเอง และ
เซฟคนอื่น ควรทำให้ทุกอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้จะดีที่สุด
ถึงบางอย่างจะเหนื่อยหน่อยที่หาทางลัดไม่ได้ แต่ผลลัพธ์มันก็น่าภูมิใจและ
ใสสะอาดเสมอ
ขอบคุณ : j e e b