
บทบาทของหัวหน้างาน คือการเป็นผู้นำในการบริหารจัดการทีมงานให้ทำงานได้ตามแผนงานเป้าหมาย มีหน้าที่ในการเป็นผู้นำทีมและประสานคนทำงานในทีมให้เป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และยังเป็นคนเชื่อมต่อระหว่างทีม แผนก และเจ้านายผู้ใหญ่ ในลำดับขั้นที่สูงขึ้นไป
ฉะนั้นแล้วหัวหน้างานที่ลูกน้องมุ่งหมายอย ากฝาก
ชีวิตการทำงาน และทุ่มเทให้กับการทำงานร่วมกันที่ดีในอุดมคติ ที่จะทำให้ทีมแกร่ง รั กษ าคนเก่ง คนดี ในยุคศตวรรษที่นี้ไว้ได้ จะต้องเป็นแบบไหนเราไปดูกัน
1. สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ผู้อื่นได้
อาการหมดไฟไม่มีแ ร ง จูงใจในการทำงาน เกิดขึ้นกับคนทำงานในทุกระบบงาน
ทั้งราชการเอกชน เมื่อต้องทำงานในแบบเดิมซ้ำๆ ท่ามกลางการต้องตื่นเช้า ฝ่าปัญหาจราจร
และปัญหาชีวิตต่างๆ มาทำงานอาการหมดไฟและหมดใจย่อมเกิดขึ้นได้ทุกวันเวลา
ดังนั้นหน้าที่ที่หัวหน้างานยุคใหม่ควรมี คือการสื่อส า ร สร้างสรรค์ และช่วยสร้างแร งจูงใจใหม่ๆ
ให้เกิดขึ้นกับคนร่วมทีมได้ตลอดเวลาด้วย
2. ให้เครดิตทีม
บ่อยครั้งที่หัวหน้างานห ม อบหมายงานให้ลูกน้องในทีมไปช่วยคิด วางแผน ทำงานในส่วนนั้นๆ
ออกมา เพื่อนำไปเสนอต่อเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาที่อยู่สูงขึ้นไปอีกทีหนึ่ง
ซึ่งนั่นเท่ากับว่าการนำเสนองานต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชาสูงสุด ต้องกระทำผ่านหัวหน้างาน
ซึ่งไม่ได้ทำงานด้วยตัวเองเพียงคนเดียว ดังนั้น หากเ นื้ องานดีได้รับความเห็นชอบ
ชื่นชมก็อย่าลืมใส่เ ค ร ดิ ตให้ชื่อแก่ทีมงานที่ช่วยระดมกำลังกายและสม อ งมาช่วยคิดงานคุณด้วย เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้องคนต้นคิดมาทราบทีหลังว่าไอเดียตัวเองถูกนำ
ไปขายต่อ โดยไม่ให้เ ค ร ดิต (หัวหน้างานส่วนใหญ่เผลอทำผิ ด พล าดในข้อนี้กันมาก)
นั่นเท่ากับคุณอาจไม่ได้รับข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นดีๆ หรือ ความเต็มที่ในการทำงานจากลูกน้องคนเก่งคนนั้นอีกเลย
3. เก่งจริง เก๋าประสบการณ์
ไม่ว่าจะขึ้นตำแหน่งมาด้วยความสามารถหรือค่าประสบการณ์ที่สะสมมาย าวนาน นั่นคือความเก่ง ความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ที่ลูกน้องทุกคนต้องการมากที่สุดในตัวหัวหน้างาน
ในอุดมคติ เพราะถ้าได้อยู่กับคนเก่งที่มีความสามารถนั่นเปรียบเสมือนทีมนั้นได้ผู้นำในหัวหลักที่ดี และเป็นที่พึ่งพาให้แก่ลูกน้องคนทำงานร่วมทีมได้ตลอดรอดฝั่งในทุกสถานการณ์
4. วางตัวเป็น
การวางตัวเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการครองคนหมู่มาก ด้วยความเป็นหัวหน้างานที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาในทีมอยู่หลายคน การจะไปสนิทสนมกับลูกน้องคนใดมากเป็นพิเศษ
เพราะเห็นว่าคนๆ นี้ทำงานเก่ง หรือด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม มีแต่จะทำให้หลายสิ่งในทีมแ ย่ลง ด้วยทุกคนมีสิทธิ์จะคิดได้ว่า หัวหน้างานโปรดปรานลูกน้องคนใดมากกว่ากัน
หรือหัวหน้าโ อ นเอียงเข้าข้างใคร อันเป็นชนวนเหตุที่จะทำให้เกิดรอยร้าว แตกแยกในทีมได้อย่างรุ นแ ร ง
5. พรีเซนต์เป็น นำเสนอเก่ง
ทำงานเก่งอย่างเดียวไม่รอดในยุคนี้ ต้องขายตัวเอง ขายทีม ขายโปรเจกต์เก่งด้วย จึงจะรอด เพราะการนำเสนอไอเดีย ความคิด โปรเจกต์ต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยทักษะ
ของผู้นำด้วย ในการประชุมนำเสนอผลงานต่างๆ ล้วนถูกนำเสนอผ่านหัวหน้างานทั้งสิ้น ดังนั้นถ้านำเสนอดีโปรเจกต์ต้องได้ไปต่อ ผลงานของทีมย่อมเกิดขึ้นตามมา
6. Entertain ลูกน้องบ้ าง
ตามวาระโอกาสอันสมควรเหมาะสม เช่น พาไปเลี้ยงข้าววันเกิด จัดปาร์ตี้แลกของขวัญเล็กๆ ของคนในทีม จะทำให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยของคนในทีม และช่วยลดช่องว่าง
ระหว่างเจ้านายลูกน้องลงไปได้มาก และทั้งยังได้ใจกลับคืนมา จากการใส่ใจวันสำคัญของคนลูกน้องหรือการปาร์ตี้สังสรรค์เล็กๆ อีกด้วย
7. มีเมตตาธรรมและศิลปะในการครองคน
พระเดชหรือความเก่งกาจทางบทบาทหน้าที่ การทำงานอย่างเดียว เหนี่ยวรั้งใจลูกน้องให้ภักดีแบบพร้อมจะร่วมหัวจมท้ายได้ย าก จำเป็นต้องใช้พระคุณหรือเมตตาธรรมมาค้ำจุน
การทำงานของคนทำงานในทีม เพื่อให้เกิดความราบรื่น ลื่นไหล ด้วยอย่างไรเสียคุณก็ยังต้องทำงานร่วมกันกับมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวก
รับรู้ปัญหา จุดอ่อน จุดแข็งของลูกน้องในทีม มอบหมายงานได้ถูกต้องตรงความสามารถของคนทำงานแบบสมดุล
มีความยืดหยุ่นอยู่บนกรอบกำหนดและกฎเกณฑ์บ้ าง
เห็นอกเห็นใจ ใส่ใจในเรื่องส่วนตัวบ้ าง ย่อมทำให้ลูกน้องรู้สึกสนิทสนมและอย ากทำงานร่วมด้วยไปนานๆ
8. ประเมินผลและติดตามงานแบบเป็นกลาง
การมอบหมายให้ลูกน้องทำ ย่อมต้องมีการคาดการณ์ถึงวันที่แล้วเสร็จ ซึ่งแน่นอนว่าระหว่างนั้นจะต้องมีการติดตามทวงถามงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความคืบหน้า หากแต่ถ้า
ตามจิก ตามทึ้งเรื่องความก้าวหน้าของงานมากเกินไป มีแต่จะทำให้งานติดขัดล่าช้า
จากความอึดอัดใจที่มีเจ้านายคอยยืนดู กำกับสิ่งที่ทำหรือทวงจิกทุกวันให้เกิดความกดดัน
เคร่งเ ค รี ย ด จนไม่เป็นอันทำอะไร เพราะในงานบางอย่างการให้พื้นที่ว่างและเป็นอิสระในการคิด
จะทำให้เกิดความสร้างสรรค์ในด้านที่ดีมากกว่าการตามประกบอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ในการประเมินผลการทำงานเพื่อวัดค่า KPI ใดๆ ก็ตาม ควรตั้งอยู่บนความเป็นกลางของเหตุและผล
ที่จับต้องได้ เช่น ตัวเลข สถิติ ความก้าวหน้าของโครงกาต่างๆ
โดยไม่เอาอารมณ์ความชอบพอใจส่วนตัวมาประเมินวัดผลการทำงานของลูกน้องแต่ละคนในทีม เพียงเท่านี้ก็ได้ใจลูกน้องไปเต็มๆ แล้ว